วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การสร้างเครื่องมือกำหนดเอง และการลงจุด หาจุดตัดของกราฟ โดยใช้ GSP

ในโปรแกรม  GSP  เราสามารถสร้างเครื่องมือกำหนดเองได้  เครื่องมือกำหนดเองที่ว่านี้จะช่วยประหยัดเวลาในการที่เราสร้างสรรค์ผลงานที่ต้องใช้รูปทรงแบบเดิมๆยกตัวอย่างอาทิเช่น  รูปหลายเหลี่ยม  ไม่ว่าจะเป็น สามเหลี่ยม  สี่เหลี่ยม  ห้าเหลี่ยม  เราสามารถสร้างรูปหลายเหลี่ยมและเก็บเป็นเครื่องมือไว้ใช้ในการออกแบบลวดลายต่างๆ  ดังที่เห็นในโครงงาน ทางคณิตศาสตร์หลายๆ โครงงานนิยมนำไปใช้ในการออกแบบ ลายผ้าไทย  ออกแบบลวดลายกระเป๋า อื่นๆ    ก่อนอื่นเราต้องมาเรียนรู้วิธีการสร้างรูปต้นแบบ  กันก่อนที่จะเริ่มเก็บเป็นเครื่องมือไว้ใช้
รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า   รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีขนาดคงที่  รูปสามเหลี่ยมมุมฉากที่มีความสูงตามกำหนด  รูปลูกบาศก์
วิธีการเก็บเป็นเครื่องมือนั้น  หลังจากที่เราสร้างรูปต้นแบบเสร็จ  เราก็ปลุกรูปต้นแบบของเราให้ตื่น  จากนั้นไปที่เครื่องมือกำหนดเองกดค้างไว้สักหน่อย  จากนั้นจะเห็นเครื่องมือกำหนดเองเราก็ตั้งชื่อเครื่องมือของเราก็เป็นอันเสร็จ  จากนั้นลอง  คลิกที่เครื่องมือที่เราสร้างแล้วนำออกมาใช้กันได้เลยค่ะ
ข้อควรระวังในการเก็บรูปสามเหลี่ยมมุมฉากที่มีความสูงตามกำหนดควรเก็บ  เป็นขั้นตอน  และไม่ควรที่จะสร้างเส้นตั้งฉาก  ควรใช้ สร้างวงกลมเพื่อปรับขนาดความสูงแต่ไม่นิยมสร้างเส้นตั้งฉากแล้วลงจุดบนเส้นตั้งฉาก  เพื่อเก็บเป็นเครื่องมือ  เพราะเครื่องมือที่ได้จะมีรูปร่างไม่คงที่   เนื่องจากการสร้างจุดบนเส้นตั้งฉาก  มันมีความไม่แน่นอน  สามารถเลื่อนไปมาได้

คลิกไปที่รูปภาพเพื่อดูการแสดง  อยากชมผลงานใหม่   กด  F5   นะค่ะ 






การเขียนกราฟในโปรแกรม  GSP

ในเรื่องของการเขียนกราฟในโปรแกรม GSP   จากที่ขวัญไปชมงาน  การจัดนิทรรศการต่างๆ  หรือการเผยแผ่ผลงานต่างๆ  ในเรื่องของกราฟนั้น  ยังไม่ค่อยเห็นการแสดงการหาจุดตัดของกราฟสองเส้น  ส่้วนมากผลงานที่ครูอาจารย์  มานำเสนอจะเ้ป็นในรูปการเขียนกราฟ  แล้วสำรวจ  มากกว่า  แต่ไม่เห็นแสดงจุดตัดของกราฟออกมาให้ได้เห็นกัน   นั้ินก็เพราะ  หลายๆท่านยังไม่ทราบว่า  ในโปรแกรม  GSP  นั้นมีเครื่องมือที่ชื่อว่า Graping  Toolkit  จากนั้นก็ไปที่  Intersection  ซึ่งใช้หาจุดตัดของกราฟ  ได้และยังมีเครื่องมืออีกมากมายที่ช่วยในการสร้างงานต่างๆ  ได้ดีที่เดียว  และตัวเครื่องมือที่ว่านี้   อยู่ที่ไหนเหรอ    หลายๆ  ท่านอาจจะสงสัย  เครื่องมือที่ว่านี้   อยู่ในเครื่องมือกำหนดเอง   รูปสามเหลี่ยมซ้อนกันสองรูป  แถบด้านข้างซ้ายมือไงค่ะ   มาลองใช้  เครื่องมือตัวนี้กันดูค่ะ   เดี๋ยวขวัญจะแสดงภาพให้เห็น   แต่อยากจะกล่าวถึงวิธีการลงจุดในกราฟด้วย  เพราะนักเรียนหลายๆ  คน  สนใจ   ถามขวัญเกี่ยวกับการลงจุดบนกราฟ   เราไปดูพร้อมๆ กันเลยค่ะ


การลงจุดบนกราฟ
ขั้นที่  หนึ่ง  ไปที่เมนูกราฟกำหนดระบบพิกัดฉากขึ้นมาก่อน  
ขั้นที่สอง   ไปที่เมนูกราฟอีกครั้งจะเห็นคำว่าลงจุด   เราก็สามารถกำหนดจุดลงไปในกราฟได้แล้ว  ให้ใส่ค่า x  ค่า  y  ลงไป  ง่ายเปล่าค่ะ
 
การหาจุดตัดของกราฟ  สองเส้น  ไปชมกันเลยค่ะ 

คลิกไปที่รูปภาพเพื่อดูการแสดง  อยากชมผลงานใหม่   กด  F5   นะค่ะ   



 ในบทความหน้าจะนำเสนอการเขียนกราฟ โดยใช้  พารามิเตอร์และ  สไลเดอร์กันค่ะ  เขียนกราฟเส้นตรง  กราฟเส้นโค้ง  กราฟพาราโบลา   ขอบอกนะค่ะ   ข้อสอบที่ผ่านมาส่วนมากนิยมออกเกี่ยวกับการเขียนกราฟ  ค่ะ  ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเส้นที่มาสัมผัสกับสมการเส้นโค้ง  หรือการสร้างเส้นตรงให้มาตั้งฉากกับเส้นสัมผัสเส้นโค้ง  ซึ่งนักเรียนจะสร้างได้นั้น  นักเรียนต้องมีความรู้  เกี่ยวกับการหาสมการเส้นสัมผัสเส้นโค้ง  ซึ่งเป็นเนื้อหาในระดับชั้ันมัธยมศึกษาปีที่  6  ถ้านักเรียนหาสมการไม่ได้   ไม่มีทางสร้างเส้นสัมผัสเส้นโค้งได้แน่นอนค่ะ   อย่าพลาดนะค่ะ   เราจะดูข้อควรระวังเกี่ยวกับการสร้างกราฟ   โดยใช้  GSP  กัน   เด็ดๆ  ค่ะ  เพราะเรียนรู้ด้วยตนเองมาแล้ว  เลยอยากจะฝากบอกให้มือใหม่หัดใช้ได้ทราบถึงข้อควรระวังกัน     พบกันใหม่บทความหน้า   หวังว่าคงจะชอบ  ขอบคุณค่ะ 





วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิต

วันนี้อยากพูดถึงการสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิตสักหน่อย  เพราะรู้สึกว่าเนื้อหาในบล็อก  ส่วนมากแล้วไม่ค่อยกล่าวถึงพื้นฐานสักเท่าไหร่  ดังนั้นก็เลยได้นำเสนอบทความเรื่องนี้  เริ่มกันเลยนะค่ะ   เราสามารถใช้  GSP  ในการสอนเรื่องการสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิตได้      โดยปกติการสร้างรูปเรขาคณิตที่เี่ป็นพื้นฐานของการศึกษาเรขาคณิตนั้น สามารถทำได้ด้วยวงเวียน และเส้นตรง
การใช้ GSP ในการช่วยสอนการสร้างพื้นฐานนี้ ครูสามารถตรวจสอบร่องรอยการสร้างของนักเรียน
ได้จากคำสั่ง แสดงสิ่งที่ซ่อนไว้ทั้งหมด ในเมนูแสดงผล

การสร้างรูปเรขาคณิตต้องอาศัยความรู้เรื่องการสร้างพื้นฐาน 6 แบบ คือ
  1.  การสร้างส่วนของเส้นตรงที่ยาวเท่ากับความยาวของส่วนของเส้นตรงที่กำหนดให้                  
  2. การแบ่งครึ่งส่วนของเส้นตรงที่กำหนดให้                                                                                     
  3. การแบ่งครึ่งมุมที่กำหนดให้
  4. การสร้างเส้นตั้งฉากจากจุดภายนอกมายังเส้นตรงที่กำหนดให้
  5. การสร้างเส้นตั้งฉากที่จุดจุดหนึ่งบนเส้นตรงที่กำหนดให้
  6. การสร้างมุมให้มีขนาดเท่ากับขนาดของมุมที่กำหนดให้






แบบที่ 1  การสร้างส่วนของเส้นตรงที่ยาวเท่ากับความยาวของส่วนของเส้นตรงที่กำหนดให้

(ถ้าต้องการเริ่มต้นใหม่ กด ปุ่ม F5 นะค่ะ)




แบบที่  2  การแบ่งครึ่งส่วนของเส้นตรงที่กำหนดให้








แบบที่ 3 การสร้างมุมให้มีขนาดเท่ากับขนาดของมุมที่กำหนดให้






แบบที่  4  การแบ่งครึ่งมุมที่กำหนดให้




แบบที่ 5  การสร้างเส้นตั้งฉากจากจุดภายนอกมายังเส้นตรงที่กำหนดให้


     
แบบที่  6  การสร้างเส้นตั้งฉากที่จุดจุดหนึ่งบนเส้นตรงที่กำหนดให้                                                 






ทั้ง 6  รูปแบบเป็นพื้นฐานการสร้างหวังว่า  ทุกคนคงจะสนุกกับเรียนรู้ในครั้งนี้นะค่ะ  เจอกันใหม่บทความหน้าค่ะ  บทความหน้าจะพูดเกี่ยวกับกราฟสักหน่อย

วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การเลื่อนขนาน (Translation)

วันนี้นำวิธีการเลื่อนขนานที่หลายคนยังสงสัยว่ามีวิธีการเลื่อนอย่างไร 
วิธีการเลื่อนขนานนั้นในโปรแกรมใช้ได้หลายวิธี   
1. แบบระบุเวกเตอร์  เราต้องระบุ จุดสองจุดที่เราจะใช้เป็นระยะทางเลื่อนขนานก่อนจากนั้นปลุกรูปต้นแบบให้ตื่นแล้วก็คลิกที่เมนูการแปลง  เลื่อนขนาน  รูปภาพก็จะไปตามทิศทางที่ระบุตามเวกเตอร์ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น
2  แบบระบุด้วยตนเองกับเวกเตอร์คล้ายๆกันแต่เราปลุกรูปต้นแบบที่จะเลื่อนขนานก่อนจากนั้นไปที่เมนูการแปลงเลือกเลื่อนขนาน   จากนั้นใช้เม้าว์คลิกจุดสองจุดเพื่อบอกระยะในการเลื่อนขนานไป
3   แบบเชิงขั่ว  จะเป็นการกำหนดระยะทางและมุมในการเลื่่อนขนานเองโดยเราต้องใช้ความรู้เลือกมุมเป็นอย่างดี
4 แบบสี่เหลี่ยมมุมฉาก  จะเป็นการเลื่อนรูปขนานของรูปต้นแบบ  ในแนวแกนวาย  แกนเอ็ก    ซึ่งก็คือ แนวตั้งและแนวนอนนั้นเอง

การเลื่อนขนานเป็นความรู้เบื้องต้นที่เราใช้ได้บ่อยในการสร้างผลงาน  เรื่องต่างๆ  ควรหมั่นฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง  จะได้เข้าใจรูปแบบของการใช้ได้ดียิ่งขึ้นค่ะ
ดูภาพประกอบตามด้านล่างเลยค่ะ

วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การสะท้อน The Geometer's Sketchpad

อยากฝากผลงานสวยๆ  นี้ให้เพื่อนๆ  ได้ลองคิดกันว่าถ้าจะทำ  ผลงานตัวนี้มีวิธีการสร้างอย่างไร

ไฟล์ผลงานการสะท้อน  ดาวน์โหลด เลยค่ะ
การสร้าง  วิธีการสร้าง  จะต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับการสะท้อน และ  การย่อขยายเข้ามาช่วย  ผลงานตัวนี้จะช่วยให้เด็กนักเรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์  มองเห็นความสวยงามของรูปทรงเรขาคณิต




นักเรียนบ่นหลายคนว่าทำตามไ่ม่ทัน  ถ้าทำตามไม่ทันรูปภาพด้านบน
ก็อ่านบทความประกอบไปด้วยเลยแล้วกันนะค่ะ
เริ่มต้น   นำเครื่องมือเขียนเส้นในแนวตรงออกมาสร้างมุมดังรูป  และสร้างรูปต้นแบบ ห้าเหลี่ยมที่จะใช้เพื่อสะท้อน
ขั้นสอง   เติมสีใส่ต้นแบบ  และระบุเส้นสะท้อนในที่นี้ระบุเส้นสะท้่อนในแนวนอนก่อนจากนั้นสะท้อนรูปต้นแบบมา จะได้รูปสะท้อน1 และจะห็นว่ารูปที่สะท้อนมานั้นถูกปลุกให้ตื่นอยู่  จากนั้นระบุเส้นสะท้อนในแนวตั้ง สะท้อนรูปต้นแบบ1  ไปอีก    ระบุเส้นสะท้อนแนวตั้งแนวนอนสลับกันไปมาจนได้รูปที่สะท้อนทั้งหมดหกรูป 
ขั้นที่สาม   ซ่อนรูปต้นแบบตัวแรก  เหลือแค่จุดห้าจุดของรูปต้นแบบไว้   จากนั้นคลิกรูปทั้งหมดหกรูปปลุกให้ตื่นทั้งหมด ระบุจุดศูนย์กลางโดยดับเบิ้ลคลิกที่จุดที่เป็นมุม แล้วไปที่เมนูการแปลงย่อขยายเป็นอัตราส่วน  -1/2  
ขั้นที่สี่   ทำในทำนองเดียวกันย่อขยายรูปเขาไปอีกเป็นระดับ  3  ชั้นทั้งหมด   ใส่สีสลับกันไปมาให้สวยงาม  ควรเลือกสีที่เหมาะสม  ถ้าเลือก  สีฟ้าสีแดง  เวลาสีซ้อนกันแล้วจะเกิดสีดำขึ้นมาไม่สวย  ควรหลีกเลี่ยงจ้า    ต้องมีศิลป์  ในการเลือกสีด้วยนะค่ะ  ผลงานที่ออกมาถึงจะสวยงาม
ขั้นที่ห้า  เป็นการรวมจุดกับเส้นตรงและวงกลมที่สร้างมาเพิ่มใช้ในการเคลื่อนไหว   โดยวิธีการเลือก  จุดทำตามรูปภาพเลยนะค่ะ  เริ่มที่จุดกับแขนของมุมก่อน  ตามรูป  ไปที่เมนูแก้ไข  และก็รวมจุดกับเส้นตรง
ขั้นตอนนี้ต้องเลือกจุดให้ดีนะค่ะไม่งั้นจะไม่เหมือนกับผลงานที่เรานำมาแสดง  แต่จะกลายเป็นรูปทรงใหม่แทน  ซึ่งก็แล้วแต่   คนทำเป็นคนพิจารณาแล้วกัน   เพราะอาจจะคิดว่าผลงานแบบที่ตนทำก็เก๋  แปลกตาไปอีกแบบ   ก็เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการสร้างเรียบร้อยแล้ว   คงต้องดูภาพพิจารณาตามไปด้วยนะค่ะ
จึงจะได้ในรูปแบบที่ต้อง
      หวังว่าคงจะชอบและสนุกกับการสร้างผลงานในครั้งนี้นะค่ะ   ขวัญว่าผลลัพธ์ไม่น่าตื่นตาตื่นใจเท่้ากับวิธีการที่เขาคิดได้อย่างไร  สร้างได้อย่างไร    อันนี้น่าสนใจและน่าทึ่งกว่า    แล้วอย่าลืมฝึกฝนกันบ่อยๆนะค่ะ

วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Slider (GSP) การสร้างสไลเดอร์

วันนี้ตั้งใจอย่างมากว่าจะมาอัพข้อมูล  การสร้างสไลเดอร์ลงบล็อก แต่จัดเตรียมข้อมูลไปมา  ใช้เวลาเตรียมตัวนาน  เลยเริ่มง่วงนอนก่อนแล้ว  แต่ยังไงได้เตรียมตัวมาแล้วก็ขอลงไว้บ้างนิดหน่อย  เดี๋ยวพรุ่งนี้จะมาต่อให้นะค่ะ    วันนี้อยากโชว์ภาพ  ผลงาน  บ้าน  GSP  ที่สร้างจากเครื่องมือ  3D Tools  ของโปรแกรม  เดี๋ยวจะกล่าวถึงในตอนหลังนะค่ะ   เครื่องมือ 3D Tools  ตัวนี้จะสามารถสร้างสรรค์ผลงานแบบสามมิติได้ค่ะ  สนุกแน่นอน   ตอนนี้  ไม่รู้จะจัดทำหัีวข้อไหนให้ศึกษาก่อนดี  มีแต่เรื่องน่าทำทั้งนั้น แต่ไม่ค่อยมีเวลา ทั้งเรียนทั้งทำงาน  (เริ่มจะบ่นแล้ว)   ไปดูกันเลยดีกว่าค่ะ


Slider (GSP)   การสร้างสไลเดอร์

การสร้างตัวเลื่อน (slider)  
1  slider ที่มีค่าเป็นบวก-ลบ
2  slider  ที่มีค่าเป็นบวก
3  slider  ที่จำกัดขอบเขต

แบบที่  1  slider ที่มีค่าเป็นบวก-ลบ  นำจุดอิสระมาลง  คลิกที่จุดไปเมนูการแปลง  เลื่อนขนานระยะ 1  มุม  0  จากนั้นคลิกที่จุดและจุดที่เลื่อนขนาน ไปเมนูสร้างส่วนของเส้นตรง คลิกเส้นตรง ไปเมนูสร้างจุดบนเส้นตรง  คลิกจุดอิสระ จุดที่เลื่อนขนาน  จุดบนเส้น  สามจุด(ปลุกให้ตื่น)จากนั้นไปเมนูการวัด  แบบอัตราส่วน  ก็เสร็จแล้วค่ะ  ดูตามภาพด้านล่างเลยนะค่ะถ้ายังคิดภาพไม่ออก

 แบบที่2  slider  ที่มีค่าเป็นบวก ทำในทำนองเดียวกับแบบที่หนึ่งแต่  แตกต่างกันตรง คลิกที่จุดอิสระ  และจุดที่เลื่อนขนานมาแล้วไปเมนูสร้างรังสี  (ส่วนที่แตกต่าง)  นอกนั้นเหมือนกันค่ะ
   



ตัวเลื่อนที่นำมาใช้กันมีหลักอยู่ประมาณนี้นะค่ะ  วิธีสร้างก็ไม่ยากค่ะ  
แบบที่  3  slider  ที่จำกัดขอบเขต เราต้องพิจารณาระยะ ของขอบเขตที่เราจะสร้างตามภาพด้านล่าง
 
หลักๆ แล้วก็มี  3  ตัวนี้ค่ะ  ที่ใช้บ่อยเพราะโดยส่วนตัวแล้วคิดว่าใช้ง่ายกว่าสร้างพารามิเตอร์แล้วมาเปลี่ยนค่าโดยการกดบวก  กดลบ  สามารถนำไปใช้กับการสร้างสื่อการเรียนการสอนต่างๆ เช่น กราฟ การสำรวจ ทางคณิตศาตร์


วันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สร้างผลงานด้วย การทำซ้ำ กับ GSP

 การทำซ้ำ  ด้วย  GSP
ในบทความนี้อยากนำเสนอเรื่องการทำซ้ำให้เพื่อนๆ ที่สนใจ  ลองทำดูค่ะ  ไม่ยาก  ในโปรแกรม skerchpad นั้น เมนูที่ได้ใช้บ่อยที่สุดจะเป็น เมนู การแปลง  ที่ได้ใช้ บ่อยก็จะเป็นการเลื่อนขนาน  การหมุน  การย่อ/ขยาย  การสะท้อน   แต่ที่ไม่ถนัด และไม่ค่อยจะได้นำมาใช้  เพราะหลายคนอาจจะคิดว่ามันใช้ยากมาดูผลงานการทำซ้ำที่ได้จัดทำมาให้ดูค่ะ
การทำซ้ำด้วยพารามิเตอร์ (GSP)   สามารถทำได้เช่นเดียวกันค่ะ  เป็นการกำหนดไว้ว่าเราจะทำซ้ำไปกี่รูป  ถ้าโดยปกติถ้าเราไม่กำหนดนั้น  โปรแกรมจะตั้งค่าเริ่มต้นไว้  สามครั้งสำหรับการทำซ้ำ  แค่เราไปที่เมนูกราฟ >>พารามิเตอร์ใหม่>>  กำหนดค่าออกมา>> ก็จะได้พารามิเตอร์มา  ส่วนวิธีการใช้  เราไปเลือกจุด(ที่เกิดจากจุดอิสระนะค่ะ) ที่ต้องการจะทำซ้ำ  แล้วคลิกปลุกพารามิเตอร์ใหม่ที่เราได้มา  ปลุกจุด กับ  พารามิเตอร์  จากนั้นไปเมนูการแปลงทำซ้ำ   กด shift  ที่แป้นพิมพ์ค้างไว้  จะเห็นว่าทำซ้ำตามจำนวนครั้งที่กำหนด  เพิ่มขึ้นมา  จากนั้นก็คลิกเลยค่ะ
ผลงานการทำซ้ำ   8  แปดแบบ


1  รูปแบบขั้นบันได  และ  2 แบบรวงผึ้ง
สี่รูปแบบ
 การทำซ้ำนั้น   เราจะทำซ้ำได้  ต้องเกิดจากจุดอิสระเท่านั้น   ถ้าจุดนั้นเกิดจากการเลื่อนขนาน แล้วเราไปคลิกทำซ้ำจะไม่สามารถทำได้  ต้องจากจุดอิสระเท่านั้นนะค่ะ    ห้ามลืม  ประเด็นนี้สำคัญ
                        มีพารามิเตอร์เข้ามาช่วยในการทำซ้ำก็ได้ค่ะ
มาดูวิธีการสร้างผลงานทั้ง  8  แบบ ที่ได้จัดทำมาให้กันค่ะ   พร้อมแล้วลุยเลยค่ะ 






โหลดวิธีการสร้าง ไปเก็บไว้ศึกษาได้ที่นี่ ค่ะ

 วิธีการสร้างแบบที่  3  แบบสามเหลี่ยมซ้อนกันเยอะๆ
วิธีการสร้างแบบที่  4   สี่เหลี่ยมกับทำซ้ำไปยังจุดกึ่งกลาง
วิธีการสร้างแบบที่  5  สี่เหลี่ยมกับการย่อขยายมาช่วย  รูปจะหมุนๆ เข้า
วิธีการสร้างแบบที่  7  วงกลมสวยงาม
วิธีการสร้างแบบที่  8  สามเหลี่ยมซ้อนกันหลายรูป
ไฟล์ gspผลงานการทำซ้ำ 

ผลงานตัวนี้ก็ใช้วิธีการทำซ้ำค่ะ  การทำซ้ำเป็นลำดับ  สวยๆ ค่ะ
 

 


ถ้าทำตามไม่ทันมีขั้นตอนด้านล่าง มาให้หัดทดลองทำตามดูค่ะ



 ลองใช้ควบคู่กับ ภาพเคลื่อนไหวด้านบน ไม่ยากค่ะ   หวังว่าคงชอบกันนะค่ะ 







PDF สร้างสื่อการเรียนการสอน GSP

โครงสร้างหุ่นจำลอง
 โครงสร้างหุ่นจำลอง   ตัวนี้เป็นไฟล์  gsp   ผู้จัดทำได้ทำขึ้นจากการศึกษาตามเอกสาร  pdf   เองค่ะ
แล้วคราวหน้าจะเอาวิธีทำเป็นภาพเคลื่อนไหวมาให้ทำตามกันเป็นขั้นตอนนะค่ะ
คนเล่นสเก็ตบอร์ด
คนเล่นสเก็ตบอร์ด  ท่าทางการเคลื่อนไหวของเท้า  เลียนแบบคนได้เหมือนดีค่ะ  ตัวนี้ก็ศึกษาจากเอกสาร pdf  วิธีทำในรูปแบบ ภาพเคลื่อนไหวดังรูปด้านล่างค่ะ



แหล่งที่มา  ของผลงาน  จัดทำตามเอกสารการอบรม  gsp  ณ ศูนย์การฝึกอบรม สตรีสิริเกศ จังหวัดศรีสะเกษ

วันพุธที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2553

มาสร้างเกมส์ เลขคณิตคิดเร็วกันเถอะ ต่อจากตอนที่ 2

อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย ช่วงเนี้ยเลยไม่ค่อยสบาย  เลยไม่ได้มาอัพข้อมูลให้หลายวัน   วันนี้นำเอาวิธีการสร้างเกมส์เลขคณิตคิดเร็วมาฝากกันค่ะ ตามที่ได้สัญญาไว้  วิธีการทำไม่ยาก  อาจจะเร็วไปบ้าง ยังไงก็ตามให้ทันนะค่ะ   มีปัญหาสงสัยอะัไรสามารถถามได้เลยค่ะ  ไฟล์ภาพมีขนาดใหญ่มากเกินไป ไม่สามารถนำมาลงได้  งั้น  ลิงค์ไปดูที่นี้ก็ได้ค่ะ   เกมส์เลขคณิตคิดเร็ว

(ถ้าเข้าชมไม่ได้  ติดตามไปดูวิธีการสร้างในบทความนี้ได้เลยค่ะ   ที่นี้)
บล็ิอกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อให้ ผู้ที่สนใจเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้งานโปรแกรม   โดยส่วนใหญ่แล้วจะสอนวิธีสร้างงานต่้างๆ  มากกว่าค่ะ  เน้นที่วิธีสร้าง  เพราะ โดยส่วนตัวแล้ว   ตัวเองเป็นคนที่ชอบเรียนรู้จากการดูวิธีทำมากกว่ามานั่งอ่านแล้วทำตามค่ะ  รู้สึกว่าจำได้ง่ายกว่ากันเพราะได้เห็นภาพและทำตาม  ขวัญจึงได้จัดทำวิธีการสร้างผลงานส่วนใหญ่  มีทั้งไฟล์รูปภาพ  เคลื่อนไหว และไฟล์  avi  แต่ไฟล์  avi   ส่วนใหญ่อัพลงยาก  เพราะมีทั้งภาพและเสียงบรรยาย  เลยไม่ได้เอาลงไว้ให้  แต่ถ้าใครสนใจอยากได้  ก็เขียนขอมาได้นะค่ะ  จะพยายาม  อัพลงให้ค่ะ   ต้องดูที่กระแสตอบรับก่อน  ถ้าไม่มากพอก็  แค่รูปภาพเคลื่อนไหวเอาแล้วกัน  นะค่ะ    อิอิ
จากคราวที่แล้วที่เคยได้ให้สัญญาไว้ว่าจะเอาตัวอย่างผลงานการแข่งขันทักษะ   โครงงานคณิตศาสตรฺ์มาให้ได้ชมกัน  คราวนี้เลยได้จัดให้ตามที่สัญญา  โครงงานประเภททฤษฎี
โครงงาน  GSP กับการหาค่าดีเทอร์มิแนนท์


  เอาผลงานไปดูกันได้เลยจ๊ะ  ไฟล์GSP  
รูปเล่มเต็มของโครงงาน 

ตัวอย่างงาน GSP  ต้นไม้สวยงาม ต้นไม้แบบกิ่ง  เลขคณิตคิดเร็ว   จัดทำขึ้นเองค่ะ จากการไปอบรมมา

วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วิธีการสร้าง ผลงาน GSP คณิตคิดเร็ว สื่อการสอนเรื่องเวกเตอร์ ต้นไม้ รูปหลายเหลี่ยม

  ภาพบรรยากาศ  ตอนพาเด็กนักเรียนไปแข่งทักษะทางวิชาการ  โดย  ผู้จัดทำได้นำนักเรียน  โรงเรียนนครศรีลำดวนวิทยา  อำเภอวังหิน  จังหวัดศรีสะเกษ  ไปแข่งขันที่  ศูนย์การแข่งขัน  โรงเรียนสตรีสิริเกศ  โครงงานที่นักเรียนส่งเข้าประกวดก็ใช้โปรแกรม  GSP  ในการทำโครงงาน  แบบทฤษฎี  โดยได้รางวัลที่  1  ประเภททฤษฎี  มาค่ะ    โครงงาน   เรื่อง  GSP  กับการหาค่าดีเทอร์มิแนนท์ 
 
ป้ายโครงงาน  อาจจะไม่มีศิลป์ด้านการจัดแต่เนื้อหาก็ใช้ได้  นะค่ะ

เด็กๆ  เจ้าของโครงงานค่ะ  
 บทความหน้า  ผู้จัดทำจะนำเอาผลงานโครงงานที่นักเรียนแข่งแล้วได้รางวัลมาลงให้ชมกันนะค่ะ  เพื่อเป็นแนวทางศึกษากันต่อไป   ผลงานก็ได้ใช้  โปรแกรม GSP  มาช่วยทำโครงงานด้วยค่ะ
โครงงาน gsp

วิธีการสร้างสื่อการเรียนการสอนตัวนี้จะช่วยให้นักเรียนมองเห็นภาพที่เป็นรูปธรรมในการบวกเ้วกเตอร์ค่ะ

สร้างเวกเตอร์และเก็บเป็นเครื่องมือ 


ยังมีสื่อการเรียนการสอนที่ได้นำเครื่องมือเวกเตอร์ตัวนี้มาสร้าง  ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำสื่อ  การบวกลบกันของเวกเตอร์  เยอะแยะมากมาย



สื่อการสอนการบวก- ลบเวกเตอร์

สื่อการ เรียนการสอนตัวนี้จะช่วยให้นักเรียนมีความเข้าใจในการบวกเวกเตอร์มากขึ้น  วิธีการสร้างสื่อการเรียนตัวนี้  ก็ไม่ยากค่ะ  คุณครูก็สามารถทำตามรูปที่ได้ แสดงไว้ได้เลย   สื่อการสอนบวกเวกเตอร์


ต่อไปเป็นวิธีสร้างกล่อง  เปิดปิดฝาด้านข้างได้   อาจารย์หลายๆท่านก็สามารถนำสื่อการเรียนตัวนี้ไปแสดงการหาปริมาตรของกล่องให้นักเรียนสามารถมองเห็นภาพได้อย่างชัดเจนค่ะ  โดยส่วนมากแล้วผู้จัดทำต้องการให้ครูผู้สอนสามารถออกแบบสื่อการเรียนการสอน ได้ด้วยตนเองจึงได้  จัดทำวิธีการสร้างไว้ให้เป็นส่วนใหญ่  ค่ะ   ถ้าอาจารย์ หรือผู้ที่สนใจท่านใด  มีความสงสัย  ประการใด  สามารถสอบถามได้นะค่ะ





ยังเหลือในส่วนการสร้าง   สื่อการสอนเลขคณิตคิดเร็ว   ขอยกไปในบทความหน้าแล้วกันนะค่ะ   จะนำวิธีการสร้าง  สื่อ  เล่นเกมส์ตัวนี้มาฝากกันค่ะ
และต้องขอขอบคุณที่  สสวท  ได้จัดให้มีการอบรม โปรแกรมตัวนี้ด้วย  เพราะช่วยทำใ้ห้ครู เราได้รับความรู้เพิ่มขึ้นมากกว่าแต่ก่อน

ตัวอย่างผลงาน GSP และแนวข้อสอบการประกวดผลงานสร้างสรรค์

มาดูตัวอย่างผลงาน  GSP  ฝีมือ ผู้จัดทำได้ทำขึ้นค่ะ  (อบรมมาค่ะ)



การสร้างรูปโดยใช้  โปรแกรมไม่ยากหรอกค่ะ  แต่ที่ยากคือจัดทำลงบล็อกให้เพื่อนๆ  ได้ดูกันมากกว่าเพราะผู้จัดทำได้เรียนรู้การจัดทำบล็อกเป็นเวลานานมากๆ   การนำรูปลงบล็อกที่สุดแสนจะหลายขั้นตอนปัญหาเยอะ  เพราะเป็นมืิอใหม่



ผลงานชิ้นนี้เด็กชอบสีสันที่เปลี่ยนไป มา  มากๆ  ค่ะ  ถ้าเราจัดทำสื่อการเรียนการสอนที่มีสีสันที่สวยงามแล้วย่อมดึงดูดนักเรียน ให้สนใจในการเรียนมากขึ้นก็  ภาพที่นิ่งๆ  ไม่มีการเคลื่อนไหว  ตัวนี้สร้างง่ายมากค่ะ  สามารถนำไอเดียไปสร้างสรรค์ผลงานอื่นๆได้อีกมากมายค่ะ
                                                                           



เลขคณิตคิดเร็ว   ตัวนี้  เป็นสื่อการเรียนการสอน ที่ใช้ในการแข่งขัน  คณิตคิดเร็วค่ะ  โดยจะสุ่มตัวเลขห้าตัวมาให้  กับผลลัพธ์แล้วให้นักเรียนบวก  ลบ  คูณ  หาร  ให้ได้  ผลลัพธ์เท่ากับตัวเลขที่สุ่มมาให้  โดยจับเวลา  สี่สิบห้าวินาที  ในการหาผลลัพธ์





















ผลงานชิ้นนี้ทำให้เด็กนักเรียนมองเห็น  รูปธรรม  ชัดเจนยิ่ง  การหาปริมาตรของกล่อง  ผลงานตัวนี้อาจยากสำหรับมือใหม่สักหน่อยแต่ถ้ามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมุมแล้วก็สบายค่ะ  




ตัวนี้เป็นสื่อการเรียนการสอน  การบวก   เวกเตอร์  แสดงให้เห็นว่า  เวกเตอร์  ยูบวกวี  เท่ากับเวกเตอร์วีบวกยู  ไม่ยากค่ะ แต่จะยากตรงการสร้างลูกศร  มาเก็บเป็นเครื่องมือกำหนดเองเพราะถ้าสร้างไม่ดี  ลูกศรจะมีปัญหา


ต้นไม้แบบกิ่งเคลื่อนไหว  ไปมา   ผลงานชิ้นนี้ใช้การย่อขยาย และการทำซ้ำเข้ามาเพิ่ม  ซึ่งผู้จัดทำไม่ค่อยถนัดเรื่องการทำซ้ำสักเท่าไหร่  ยังจำผิดจำถูกอยู่หลายครั้งกว่าจะได้  มาค่ะ  บางครั้งจัดทำไปแล้วก็ลืม  ต้องทำบ่อยๆ โปรแกรม  GSP  เหมือนกันค่ะถ้าไม่จับบ่อยๆ  อาจลืมวิธีใช้ได้เลยนะค่ะ  เพราะเริ่มรู้สึกอายุจะมากขึ้นแล้ว  อิอิ



ผลงานนี้เป็นการสร้างรูปหลายเหลี่ยม  จะใช้ความรู้เรื่องมุมมาช่วยในการหมุนสร้างรูป  หลายเหลี่ยมค่ะ


วันอาทิตย์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ภาพและบรรยากาศการแข่งขัน เกณฑ์การแข่งขัน ผลงานสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์

ภาพกิจกรรมการแข่งขัน  ผลงานสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์  เมื่อปี  2552  ในศูนย์การจัดการแข่งขันภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  จังหวัดศรีสะเกษ   ณ  โรงเรียนสตรีสิริเกศ

เด็กๆ  นักเรียน โรงเรียนนครศรีลำดวนวิทยา อำเภอวังหิน  จังหวัดศรีสะเกษ




นักเรียนพากันดีใจที่สามารถนำความภาคภูมิใจมาสู่
พี่น้องชาวนครศรีลำดวนวิทยา

ภาพบรรยากาศในการนำเสนอผลงาน
ในการประกวดนั้น  จะมีการสร้างผลงานตามที่โจทย์กำหนดให้  โดยนำความรู้พื้นฐานที่นักเรียนมีไปสร้าง รูปตามหัวข้อต่างๆ ที่กำหนด  นักเรียนจะต้องมีพื้นฐานการสร้าง รูปวงกลม  สี่เหลี่ยม  สามเหลี่ยม  หรือ  รูปหลายเหลี่ยม  การสร้างกราฟ   มีความรู้ความเข้าใจในทักษะการแปลงทางเรขาคณิต  เป็นอย่างดี



   ในการนำเสนอผลงานนั้นจะมีคณะกรรมการตัดสินผลการประกวด  โดยให้คะัแนนการนำเสนอด้วยความรู้ความเข้าใจของตัวนักเรียน  ความคิดสร้างสรรค์  ไอเดียที่เด็กนักเรียนมีต่อการสร้างสรรค์ผลงาน

เรียนรู้ เริ่มต้นกับ โปรแกรม GSP สำหรับมือใหม่

นี้คือ  หน้าตา โปรแกรม  GSP  ของเราที่สามารถนำมาสร้างสรรค์ผลงานทางคณิตศาสตร์  เมนูที่ใช้งานต่างๆของโปรแกรม
กล่องเครื่องมือ  เครื่องมือลูกศร  เครื่องมือลงจุด  เครื่องมือวาดวงกลม  เครื่องมือวาดเส้นในแนวตรง  เครื่องมือพิมพ์ข้อความ   เครื่องมือกำหนดเอง




ลังจากอธิบายเรื่องของโปรแกรมเบื้องต้นกันมาแล้ว
เรามาดูวิธีการใช้  โปรแกรม  GSP  สำหรับ  มือใหม่ที่เพิ่มเรียนรู้กันเลยค่ะ   เริ่มเป็นลำดับเลยนะค่ะ
ขั้นที่ 1   เราต้องมีตัวโปรแกรม  GSP  ในเครื่องของเราเสียก่อน   
ขั้นที่ 2  เีรียนรู้การใช้งานเบื้องต้น  โดยใช้ คู่มือประกอบการเรียน
ขั้นที่  3   เริ่มเรียนรู้การใช้งานเบื้องต้น  โดยหมั่นฝึกฝน  เริ่มจากการสร้างรูป  ง่ายๆ  เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือต่างๆ  ของโปรแกรม  

มีแค่สามขั้นตอนเท่านั้น  แต่ขั้นที่  3  นั้นสำคัญคือหมั่นฝึกฝนบ่อยๆ  ความชำนาญก็จะเกิดเองค่ะ  ขอให้ทุกคนโชคดี  หมั่นฝึกฝนกันเยอะๆนะค่ะ